พระตำหนักดอยตุงและสวนแม่ฟ้าหลวง
ประวัติ
พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่
26 ธันวาคม 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรา
บรมราชชนนีมีพระชนมายุ 88 พรรษา
โดยก่อนหน้านั้นมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ จึงได้เลือกดอยตุง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ขณะเดียวกัน
สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เมื่อทรงทอดพระเนตรพื้นที่ เมื่อต้นปี พ.ศ.2530ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริจะสร้าง "บ้านที่ดอยตุง"
พร้อมกันนี้ ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะ
" ปลูกป่าบนดอยสูง"
จึงกำเนิดเป็นโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น
พระตำหนักดอยตุง
อยู่บริเวณ
กม. ที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระ-ตำหนักเป็นอาคารสองชั้น มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของสวิส
มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ ฝีมือช่างชาวเหนือ
การเดินทาง
พระตำหนักดอยตุงอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 60 กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไป 45 กิโลเมตร
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1149 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร
สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีม่วงบริเวณปากทาง
รถออกตั้งแต่ 07.00 น. มีรถออกทุก 20 นาที
เยี่ยมชมพระตำหนัก
พักรีสอร์ท
เยือนหมู่บ้านชาวเขา
เดินเท้าในดงกุหลาบพันปี
เชียงราย
อารยนครอายุกว่า 700 ปี มีมนต์เสน่ห์ล้ำลึกของวัฒธรรมล้านนา
กลมกลืนกันอยู่ในโอบล้อมของผืนป่า ที่เริ่มคืนความเขียวชอุ่ม
ภายหลังเกิดโครงการพัฒนาดอยตุงฯ กว่า 30 ปี ที่ผ่านมา
ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระศรีนครินทรายรมราชนนี ชาวเขาและชาวพื้นราบในบริเวณรอบดอยตุง
ยอดสูงสุดของดอยนางนอน พรมแดนไทย – เมียนมาร์
ได้เปลี่ยนวิถีจากการปลูกและเสพฝิ่น ถางป่าตัดป่าและทำไร่เลื่อนลอย
หันมาทำการเกษตร ปลูกพืชผักเมืองหนาว ทำไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย
สร้างผลงานเย็บปักถักร้อย ที่เชื่อมต่อวัตถุดิบพื้นถิ่น และหัตถศิลป็พื้นเมือง
สู่การใช้งานในชีวิตประจำวันแบบสากล ในขณะที่กลุ่มชน 30 ชาติพันธุ์
ที่ยังคงอาศัยอยู่อย่างสงบตามไหล่เขา
และบนดอยสูงแนบแน่นอยู่กับแระเพณีดั้งเดิมของตน โดยไม่ถูกวัฒนธรรมเมืองกลืนกิน
วันนี้...ดอยตุงพร้องต้อนรับผู้มาเยือนสู่วิถีชุมชนสัมมาชีพ
ในโอบล้อมของสวนป่า และอุทยานที่แลล้วนด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ อันงดงามเกินบรรยาย
รื่นรมย์ชมไม้เมืองหนาว
ณ
สวนแม่ฟ้าหลวง ละลานตาด้วยแปปลงไม้ดอก และไม้พุ่ม
จากทุกมุมโลกหมุนเวียนกันเบ่งบานตลอดปีสวยสดราวผืนพรมธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
ชมสวนหิน สวนน้ำพุ น้ำผุด ที่จะปรับเปลี่ยนไปทุกปี ในช่วงงาน ห่มหนาว
ราวเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน
ณ หอพระราชประวัติ
เรียนรู้ปรัชญาในการดำรงพระชนม์ชีพ
ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ทรงให้ชีวิตใหม่แกดอยตุง
ราษฎรพากันขานพระนามของพระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง”
นิทรรศกาวจัดแสดงด้วยเทคนิคทันสมัยน่าตื่นใจ
และสะเทือนอารมณ์ นับแต่เสด็จสู่สวรรคาลัย
ก่อนจะย้อนกลับไปยังช่วงต้นของพระชนม์ชีพ แรกพบสมเด็จพระบรมราชชนก
พระราชพิธีอภิเษกสมรส ทรงร่วมใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
ทรงงอภิบาลพระประมุขของชาวไทย 2 พระองค์พร้อม เสด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
ทรงงานด้านการศึกษา สาธารณสุข สาธารณกุศล และทรงได้รับยกย่องจากยูเนสโกเป็น
บุคคลดีเด่นแห่งศตวรรษที่ 20
พักรีสอร์ท
ณ ดอยตุง ลอด์จ ห่างจากพระตำหนักดอยตุงระยะเดิน
15 นาที สามารถมองเห็นหมู่บ้านชาวเขา ทุ่งนาป่าสน และดอยตุงในมุมกว้าง
ท่ามกลางเสียงใบไม้ และนกร้อง
มีห้องพักปรับอากาศเตียงคู่ และเดี่ยว 47 ห้อง
พร้อมทีวี ตู้เย็น เครื่องเป่าผม บริการซักรีด ร้านขายของที่ระลึก ห้องประชุม
สัมมนา ร้านอาหารครัวตำหนัก บริการอาหารไทยพร้อมผักปลอดสารพิษ
เก็บสดจากไร่ในโครงการเพลินชม
พระตำหนักดอยตุง
เรือนไม้ 2
ชั้นเนินต่างระดับ สถาปัตยกรมผสมผสานระหว่างบ้านปีกไม้ ศิลปะล้านนา
กับชาเลต์แบบสวิส (swiss chalet)
สามารถมองเห็นทิวทัศน์เทือกเขาสลับซับซ้อน
กลางห้องเป็นที่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ เพื่อมาเยือนได้สักการะ เพดานดาวเป็นภาพระบบสุริยะ
และกลุ่งฃมดวงดาวอยู่ในตำแหน่งเดียวกับที่เคยปรากฏ ณ 21 ตุลาคม
พ.ศ.2443 วันพระราชสมภพ
รอบพระตำหนักประดับด้วยไม้ดอกนานาพันธ์ สามารถชมห้องบรรทม
ปละห้องทรงงานที่สะท้อนพระราชจริยวัตรอันงดงามเรียบง่าย
งานฝีมือดอยตุงสู่ตลาดโลก ณ ศูนย์งานมือ
ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ
มีสินค้าดีไซน์เฉพาะ เหมาะสำหรับผู้พิถีพิถันเลือกสินค้า นับแต่ผ้าทอมือ พรมทอมือ
ผลิตภัณฑ์กระดาษสา งานปั้น และเครื่องเคลือบดินเผา ไปจนถึงกาแฟดอยตุง
และแมคคาเดเมีย
เยือนหมู่บ้านชาวเขา
ชมวิถีชีวิตชาวเขาเผ่าอาข่า
(อีก้อ) ลาหู่ (มูเซอ) ไทยใหญ่ (ฉาน) และจีนอพยพ
ที่ยังคงรักษาพิธีกรรมเก่าแก่ไว้ได้
ในพื้นที่ร่ำรวยอารยธรรมชนเผ่าซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
อาคารอเนกประสงค์ พระตำหนักดอยตุง
อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57240
โทรศัพท์ : 053-767015-7
โทรสาร : 053 – 767077
สำนักงานกรุงเทพ ฯ
1875 ถนน พระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
กทม. 10330
โทรศัพท์ : 02-2527114
โทรสาร : 02- 2541665


