
วันที่จัดงาน : เดือนมีนาคม
สถานที่จัดงาน : บ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย
ก่อนเริ่มการแข่งขันจะมีพระทำพิธีคล้องมาลัยและรดน้ำมนต์ให้กับควาญช้างและช้างที่ร่วมการแข่งขันโปโลช้าง
เพื่อเป็นสิริมงคลและให้ได้รับชัยชนะในการแข่งขัน
นอกจากนี้ยังมีขบวนพาเหรดแบบโบราณทางภาคเหนือ
การฟ้อนรำของชาวเขาที่ใส่ชุดประจำเผ่าในแบบต่างๆ ครูบาใหญ่หรือผู้ควบคุมช้างโดยพลังทางจิตวิญญาณ
ทำพิธีบวงสรวงให้ช้างที่เข้าร่วมการแข่งขันโปโลช้าง ตัวแทนจากประเทศต่างๆ
ถือธงชาติของตนลงสนามก่อนจะเริ่มเตะเปิดพิธีที่อนันตรา สามเหลี่ยมทองคำ
จังหวัดเชียงราย
การแข่งขันอันโด่งดังดังกล่าวนี้ได้รับการจัดอันดับ
เป็นหนึ่งในหกงานสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
ในปฏิทินท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี
การแข่งขันครั้งนี้เดิมทีได้รับการจัด ณ เมืองหัวหินมาอย่างต่อเนื่อง 6 ปีก่อนที่จะย้ายมายังดินแดนที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของช้างทางภาคเหนือในปี
2549 การแข่งขันโปโลบนหลังช้างครั้งแรกนั้นเริ่มต้นปี พ.ศ. 2544
ซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดเป็นกิจกรรม
เพื่อการกุศลที่สามารถนำเงินเข้าสมทบให้แก่สถาบันคชบาลแห่งชาติในจังหวัดลำปางและดูแลช้างไทยเป็นอย่างดี
เพียงแค่เวลา
7 ปี การแข่งขันโปโลบนหลังช้าง ซึ่งเดิมเคยเป็นกิจกรรมขนาดเล็ก
ใช้เวลาในการจัดงานเพียง 2 วัน ด้วยทีมแข่งขัน 6 ทีม กลายเป็นการแข่งขันที่ใช้เวลายาวนานถึงหนึ่งสัปดาห์
ซึ่งในปีที่ผ่านมาประกอปด้วยการแข่งขันถึง 12 ทีม
มีผู้แข่งขันทั้งหมด 36 ท่าน จาก 15 ประเทศ
การจัดงานที่ภาคเหนือของไทยนั้น
จะช่วยทำให้แน่ใจได้ว่านานาชาติจะสามารถหันมาสนใจในภูมิภาคนี้ซึ่งมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์และหาที่เปรียบไม่ได้แห่งนี้
โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
ซึ่งมีทัศนียภาพของขุนเขาและแม่น้ำที่เชื่อมแผ่นดินสามประเทศคือ ไทย
พม่าและลาวเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว อนันตรารีสอร์ท ณ ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำให้ความสำคัญ
เรื่องการดำรงไว้ซึ่งธรรมชาติและการอนุรักษ์ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านทางแคมป์ช้าง
ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อดูแลช้างที่น่าสงสาร
ซึ่งแขกทุกท่านที่เข้ามาพักที่รีสอร์ทหรูแห่งนี้จะสามารถเข้าถึงประสบการณ์อันวิเศษสุดนี้ได้
โดยความร่วมมือของ จอห์น โรเบิร์ต นักอนุรักษ์ชื่อดัง
ผู้จัดการแคมป์ช้างของรีสอร์ท นอกจากจะดูช้างทุกเชือกในรีสอร์ทแล้วนั้น
เขายังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันคชบาลแห่งชาติ
จังหวัดลำปางในการร่วมอนุรักษ์ช้างทางภาคเหนือของไทยอีกด้วย
สนับสนุนการจัดงานโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้สนใจร่วมชมการแข่งขัน
สามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
จวบจนปัจจุบันการแข่งขันได้นำเงินสมทบสถาบันคชบาล มาแล้วเป็นจำนวนกว่า 4,900,000
บาท ซึ่งรายได้ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้เพื่อซื้อยารักษาโรค
จ้างคนดูแลช้าง(ควาญช้าง)
การฝึกอบรมและเป็นค่าสวัสดิการต่างๆสำหรับควาญช้างเหล่านั้น
เป็นที่ประมาณการไว้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทยมีช้างทั้งหมดประมาณ 2,500 เชือกและช้างป่าทั้งหมดประมาณ 1,500 ตัวซึ่งจะเห็นได้ว่าลดลงจากปี
2493 ซึ่งมีจำนวน 50,000 เชือกและปี 2443
ซึ่งมี 100,000 เชือกอย่างน่าใจหาย
http://www.cots.go.th/newsdetail.php?id=410&cn=1
http://www.chiangraifocus.com/news/details.php?id=3109
|